เครื่องโอโซน - โอโซน - ความรู้ - Ozone Knowledge

เข้าใจหลักการทำงาน ประโยชน์ และข้อควรระวังในการใช้งานโอโซน

รายการสินค้า เครื่องโอโซน

CB-400 | CB-800 | CW-1000 |Ozone System | Ozone AHU
เครื่องวัดและควบคุมระดับปริมาณก๊าซโอโซน (Ozone Auto Adjust Controller)

โอโซนคืออะไร?

โอโซน (O3) เป็นก๊าซธรรมชาติรูปแบบหนึ่งของออกซิเจนที่ไม่เสถียร อยู่ในบรรยากาศ ชั้นสตราโทสเฟียร์ (Stratosphere) ที่ระดับความสูงประมาณ 50 กิโลเมตร จากพื้นดินโอโซนเกิดขึ้นตามธรรมชาติ และแผ่เป็นชั้นซึ่งเรียกว่า “ชั้นโอโซน” (Ozone layer) ชั้นโอโซนช่วยกรองรังสีอัลตราไวโอเล็ตจากดวงอาทิตย์

คุณสมบัติ

ก๊าซโอโซนบริสุทธิ์จะมีสีน้ำเงินแก่ มีกลิ่นคล้ายคลอรีนจางๆ โอโซนละลายน้ำได้มากกว่าก๊าซออกซิเจน มีจุดเดือดที่ -111.5 องศาเซลเซียส และมีจุดหลอมเหลวที่ -251 องศาเซลเซียส เมื่ออยู่ในสภาวะที่เป็นก๊าซบริสุทธิ์จะเสถียรภาพดีพอสมควร แต่ถ้ามีสารอินทรีย์ปนอยู่ในน้ำแล้ว โอโซนจะสลายตัวเป็นออกซิเจนได้ง่าย ถ้าผสมอยู่กับอากาศจะค่อยๆกลายเป็นออกซิเจน ถ้าอุณหภูมิถึง 300 องศาเซลเซียส จะสลายตัวอย่างรวดเร็ว


แหล่งที่มา


1. เกิดตามธรรมชาติ เกิดจากการรวมตัวกันของโมเลกุลของก๊าซออกซิเจน โดยมีรังสีอุลตราไวโอเลตที่มีความยาวคลื่นน้อยกว่า 242 นาโนเมตร เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้เกิดพลังงานที่จะดึงเอาโมเลกุลของก๊าซออกซิเจนให้แตกตัวเป็นอะตอมของออกซิเจน 2 อะตอม และเมื่ออะตอมของออกซิเจน 1 อะตอมพบกับโมเลกุลของก๊าซออกซิเจนจะเกิดการรวมตัวดังสมการ


O2 ---- (uv) ----- O+O
O+O2 ---- O3


โอโซนที่เกิดขึ้นนี้สามารถดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลตแล้วแตกตัวกลายเป็นก๊าซออกซิเจนและรวมตัวกับอะตอมของออกซิจน กลายเป็นโอโซนได้อีก โดยมีรังสีอัลตราไวโอเลตเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาซึ่งจะเกิดเช่นนี้ไปได้เรื่อยๆ โดยไม่มีที่สิ้นสุดแบบปฏิกิริยาลูกโซ่ โอโซนยังสามารถเกิดได้เองในอากาศจากพายุฝนฟ้าคะนองหรือจากฟ้าแลบได้อีกด้วย กระบวนการเกิดปฏิกิริยาดังกล่าวนี้เรียกว่าขบวนการโพโตเคมีคอล(Photochamical process) ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่ทำให้เกิดก๊าซโอโซนและสลายตัวพร้อมกัน และในที่สุดปฏิกิริยาของก๊าซโอโซนก็จะอยู่ในภาวะสมดุลโดยที่อัตราการเกิดและสลายตัวเท่ากัน(แล้วจะเกิดมาทำไมวุ้ย..^_^)


2. เกิดจากการกระทำของมนุษย์ โอโซนถูกผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น การกำจัดน้ำเสียและใช้ฆ่าเชื้อ การเตรียมก๊าซโอโซนที่สะดวกที่สุดใช้ไฟฟ้า silent electrical discharge กระทำกับอากาศหรือกับก๊าซออกซิเจน ซึ่งก๊าซออกซิเจนบางส่วนเท่านั้นที่กลายเป็นโอโซน ถ้าใช้อากาศ เรียกก๊าซผสมนี้ว่า ไอโอไนซ์แอร์ (ozonised air) ถ้าใช้ก๊าซออกซิเจนก๊าซโอโซนที่เกิดขึ้นจะปนอยู่กับก๊าซออกซิเจนที่เหลือ เรียกว่า ozonised oxygen เครื่องมือที่ใช้เตรียมก๊าซโอโซนด้วยวิธีนี้เรียกว่า โอโนไนเซอร์ (ozonizer)


โอโซนเป็นส่วนประกอบของบรรยากาศส่วนหนึ่งที่ปกคลุมผิวโลก ซึ่งมีลักษณะเป็นชั้นบางๆ บริเวณที่อยู่แปรผันอยู่ระหว่างระดับน้ำทะเลขึ้นไปถึงระยะ 60 กิโลเมตร โอโซนส่วนใหญ่อยู่ที่ชั้นบรรยากาศสตาร์โตสเฟียร์ซึ่งพบประมาณร้อยละ 89 - 90 ส่วนที่เหลือจะกระจายอยู่ชั้นโทรโพสเฟียร์และเมโซสเฟียร์ ชั้นโอโซนจะทำหน้าที่กรองแสงอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์โดยสามารถดูดแสง UV-B ความยาวคลื่นระหว่าง 280 - 320 นาโนเมตร ไว้ได้ประมาณ ร้อยละ 70 - 90 รังสี UV-B นี้เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต โอโซนยังมีบทบาทสำคัญในการกำหนดหรือควบคุมอุณหภูมิของโลกและบรรยากาศ โดยสามารถดูดรังสีอินฟราเรดซึ่งสะท้อนจากผิวโลกและจากชั้นสตราโตสเฟียร์ได้ ทำให้อุณหภูมิบรรยากาศโลกชั้นนี้สูงขึ้น มีผลต่อสภาพภูมิอากาศของผิวโลก


ปริมาณที่ถูกทำลาย


โอโซนส่วนใหญ่อยู่ในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ โดยมีความเข้มข้นประมาณ 10 ส่วนในล้านส่วน ซึ่งเป็นปริมาณน้อยมากแต่ก็มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ ปัจจุบันพบว่ามีการปล่อยสารเคมีต่างๆขึ้นสู่บรรยากาศมากขึ้น ทำให้ก๊าซโอโซนน้อยลงจากการใช้เครื่องมือต่างๆวัดพบว่าโอโซนลดลงร้อยละ 2-3 ที่ระดับความสูง 30-40 กิโลเมตรและจากการใช้เครื่อง สเปคโทรมิเตอร์ (Spectrometer) ตรวจวัดปริมาณโอโซนในบริเวณขั้วโลกได้ของเดือนตุลาคมในทุกปี ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี 1957 เป็นต้นไปก็ได้พบว่าปริมาณของโอโซนที่อยู่เหนือบริเวณขั้วโลกได้ลดลงเกือบ 40 เปอร์เซนต์ และลดลงมากที่สุดในปี 1970 ผลการตรวจวัดระดับโอโซนในบรรยากาศได้รับการยืนยันในปี 1975

จากการใช้ดาวเทียมสำรวจ ได้แสดงให้เห็นว่าเกิดความเสียหายขึ้นต่อชั้นโอโซนเหนือบริเวณขั้วโลกได้ และได้พบความเสียหายได้ขยายตัวมายังบริเวณเส้นศูนย์สูตรประมาณ 45 องศาใต้ ซึ่งองค์การนาซ่าของสหรัฐก็ได้ทำการตรวจสอบสภาพบรรยากาศของโลกได้รายงานว่า เกิดมีลักษณะความเข้มของแสงอาทิตย์ที่ผ่านบรรยากาศไม่สม่ำเสมอจึงได้หาสาเหตุและพบว่าโอโซนที่อยู่รอบโลกในชั้นบรรยากาศโดยเฉพาะบริเวณขั้วโลกใต้ และขั้วโลกเหนือได้ลดลงเป็นหย่อม ๆ และเกิดมากขึ้นเป็นลำดับบางหย่อมคิดเป็นพื้นที่ได้ประมาณ 9 ล้านตารางกิโลเมตร ( เกษม, 2533 ) การที่โอโซนในชั้นสตราโตเพียร์ถูกทำลายไปเนื่องจากสารเคมีที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศและสารที่สำคัญคือ CFCs ซึ่งจะมีผลทำให้ UV ส่องมาถึงโลกมากขึ้นมีผลเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตได้


สารเคมี 2 ชนิดที่อยู่ในรูปของก๊าซ ในชั้นบรรยากาศที่ทำลายโอโซนได้คือคลอรีนออกไซด์(Chlorine Oxides; ClOx) และ ไนโตรเจนออกไซด์ (Nitrogen Oxides ; Nox) (ดูเรื่องสาร CFC ประกอบ)


ไนโตรเจนออกไซด์มาจากไนตรัสออกไซด์ (Nitrous Oxides ; N2O) ซึ่งมีจุดกำเนิดตามธรรมชาติที่ผิวโลก เช่น กระบวนการ denitrication ของจุลินทรีย์และในบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์ เกิดจากฟ้าแลบฟ้าร้อง พวกเครื่องบินที่บินเร็วเหนือเสียง(SST) ที่ปล่อยไนตริกออกไซด์จากไอเสียและยังมีสารพวกฮาโลเจน (Halogen) โดยเฉพาะพวกก๊าซโบมีน(Br) ที่สามารถสลายโอโซนได้ในทางทฤษฎี


ขบวนการสำคัญที่สุดที่ทำลายโอโซนคือขบวนการที่มีอะตอมของคลอรีน ไนตริกออกไซด์ ไฮโดรเจนออกไซด์ โบมีน และ ไฮรโดรเจนเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา (catalyst) ผลของปฏิกิริยาที่ทำกับโอโซนหรือออกซิเจนนั้น จะทำให้อะตอมของสารพวกนั้นออกมาและเริ่มต้นใหม่เป็นวงจร ดังนี้


O3 + Solar radiation---------------- O + O2

O + XO3 --------------------- X + O2

X + O3 --------------------- XO + O2
------------------------------------------------------------------------------------------------
Net 2O3 3O2

(X = Cl,No,Br,OH,H)

โอโซน (O3)

    โอโซน (O3) เป็นก๊าซธรรมชาติรูปแบบหนึ่งของออกซิเจนที่ไม่เสถียร อยู่ในบรรยากาศ ชั้นสตราโทสเฟียร์
(Stratosphere) ที่ระดับความสูงประมาณ 50 กิโลเมตร จากพื้นดินโอโซนเกิดขึ้นตามธรรมชาติ
และแผ่เป็นชั้นซึ่งเรียกว่า “ชั้นโอโซน” (Ozone layer) ชั้นโอโซนช่วยกรองรังสีอัลตราไวโอเล็ตจากดวงอาทิตย์
ที่ส่องมายังโลกของเรา ซึ่งหากผิวหนังของคนเราได้รับรังสีอัลตราไวโอเล็ตมากเกินไปจะทำให้เกิดอันตรายได้

    โอโซน (O3) มีพลังงานในการทำปฏิกิริยาออกซิเดชั่นสูง โดยเมื่อทำปฏิกิริยาแล้ว จะไม่เหลือสารพิษตกค้างใดๆ
นอกจากออกซิเจน อีกทั้งยังมีความสามารถในการฆ่าเชื้อโรคสูงกว่าคลอรีน 52% และเร็วกว่า 3,000 เท่า
จึงมีการนำโอโซนไปใช้งานอย่างแพร่หลาย ทั้งในครัวเรือน สำนักงาน จนถึงโรงงานอุตสาหกรรม กว่า 150 ปี

    ที่เราได้ผลิตเครื่องกำเนิดโอโซนโดยใช้หลักการเดียวกับการเกิดโอโซนในธรรมชาติ โดยใช้ประจุไฟฟ้าแรงสูง
ซึ่งจะทำให้โมเลกุลของออกซิเจน (O2) แตกตัวเป็นอะตอมเดี่ยว และรวมตัวกันอีกครั้งกลายเป็นโอโซน (O3)
ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า หากใช้โอโซน (O3) ในปริมาณที่เหมาะสม จะไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อคนหรือสัตว์เลี้ยง
และเมื่อนำโอโซน (O3) ไปใช้ในการบำบัดน้ำเสียและอากาศเป็นพิษ จะช่วยทำให้อากาศบริสุทธิ์ขึ้น
สามารถสลายก๊าซพิษ ขจัดกลิ่นและแบคทีเรียในเวลาอันรวดเร็ว

คุณลักษณะของโอโซน (O3)

1. โอโซน (O3) ทำปฏิกิริยาออกซิไดซ์ ในการฆ่าเชื้อโรคได้ดีกว่าคลอรีน
2. โอโซน (O3) มีคุณสมบัติดีเยี่ยมในการกำจัดหรือแยกย่อยโลหะจำพวกเหล็ก แมงกานีส ซัลเฟอร์ ตะกั่ว
     และยังสามารถกำจัดอนุภาคกัมมันตรังสี (RADON) ในน้ำ
3. โอโซน (O3) มีคุณสมบัติยอดเยี่ยมในการบำบัดน้ำเสีย และไม่ก่อให้เกิดสารตกค้างที่เป็นอันตราย
     โอโซน (O3) จะกลายสภาพเป็นออกซิเจนในที่สุด
4. กระทรวงสาธารณะสุขได้กำหนดให้สามารถใช้โอโซน (O3) ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค
    ในโรงงานผลิตภัณฑ์บรรจุขวด หรือในการผลิตที่คล้ายคลึงกัน
5. โอโซน (O3) สามารถนำมาใช้ขจัดรสและกลิ่นต่างๆ
6. โอโซน (O3) สามารถนำมาเพื่อใช้ผลิตน้ำบริสุทธิ์
7. โอโซน (O3) ไม่ก่อให้เกิดสารตกค้างคลอรามีน หรือสารตกค้างอื่นๆ เช่น ไตรฮาโลมีเทน
8. โอโซน (O3) จะคงสภาพเป็นก๊าซ O3 เพียงชั่วคราว แล้วจะแตกตัวเป็นออกซิเจน (O2)
     ดังนั้นจึงไม่สามารถเก็บไว้ได้
9. โอโซน (O3) จะแตกตัวกลายเป็นออกซิเจน (O2) ในเวลา 20 นาทีในน้ำ หรือ 50 นาที ในอากาศ
     ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำหรืออากาศในขณะนั้น

 

โอโซน (O3) เป็นแก๊สไม่มีสีที่ประกอบด้วยอะตอมออกซิเจน 3 อะตอม มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อ กำจัดกลิ่น และสลายสารเคมีบางชนิด จึงถูกนำมาใช้ในหลายอุตสาหกรรม เช่น การบำบัดน้ำ การฟอกอากาศ และการฆ่าเชื้อโรค

โอโซนคืออะไร

เครื่องโอโซนทำงานอย่างไร?
OZONE SYSTEM TikTok

เครื่องโอโซนใช้ไฟฟ้าแรงสูงเพื่อแยกอะตอมออกซิเจนจากโมเลกุล O2 ให้กลายเป็น O3 (โอโซน) แล้วปล่อยโอโซนเข้าสู่พื้นที่หรือของเหลวเพื่อทำลายเชื้อโรค กำจัดกลิ่น หรือฟอกอากาศ

เครื่องโอโซนเคืออะไร

การนำโอโซนไปใช้งานในชีวิตประจำวัน

การใช้งานโอโซน

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโอโซนและเครื่องฟอกอากาศ

เครื่องอบโอโซนอันตรายไหม

เครื่องอบโอโซนสามารถเป็นอันตรายได้หากใช้งานในพื้นที่อับโดยไม่มีการระบายอากาศที่เพียงพอ เพราะโอโซนในระดับสูงอาจระคายเคืองทางเดินหายใจได้

โทษของโอโซนคืออะไร

หากได้รับโอโซนในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดการระคายเคืองตา จมูก และลำคอ รวมถึงอาการหายใจลำบาก โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคหอบหืดหรือโรคปอดเรื้อรัง

เครื่องอบโอโซนและเครื่องฟอกอากาศต่างกันอย่างไร

เครื่องอบโอโซนใช้โอโซนในการฆ่าเชื้อและกำจัดกลิ่น ส่วนเครื่องฟอกอากาศใช้แผ่นกรองและบางรุ่นใช้ประจุไฟฟ้าในการดักจับฝุ่นและแบคทีเรีย

โอโซนสามารถกําจัดกลิ่นได้หรือไม่

โอโซนมีคุณสมบัติในการกำจัดกลิ่นได้ดี โดยสามารถออกซิไดซ์โมเลกุลของกลิ่นไม่พึงประสงค์ เช่น กลิ่นบุหรี่ กลิ่นอาหาร หรือกลิ่นสัตว์เลี้ยง

การใช้ออกซิเจนมีโทษอะไรบ้าง

การใช้ออกซิเจนมากเกินไปโดยไม่จำเป็นอาจทำให้เกิดพิษต่อปอด โดยเฉพาะหากใช้อย่างต่อเนื่องในความเข้มข้นสูง โดยควรใช้อย่างมีการควบคุม

เครื่องฟอกอากาศที่มีประจุลบอันตรายไหม

เครื่องฟอกอากาศที่ปล่อยประจุลบส่วนมากปลอดภัย แต่ควรเลือกเครื่องที่ผ่านมาตรฐาน เพราะบางรุ่นอาจปล่อยโอโซนในระดับที่เป็นอันตรายได้

ผลเสียของเครื่องฟอกอากาศมีอะไรบ้าง

หากไม่ดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ เช่น ไม่เปลี่ยนไส้กรอง อาจทำให้เครื่องไม่สามารถกรองอากาศได้ดี หรือปล่อยสารปนเปื้อนกลับสู่ห้อง

ไอออนลบ ช่วยอะไร

ไอออนลบช่วยจับฝุ่นในอากาศ ทำให้ตกลงสู่พื้น ลดอาการภูมิแพ้ และอาจช่วยให้รู้สึกสดชื่นขึ้น แต่ควรระวังการปล่อยโอโซนร่วมด้วย

โอโซนฆ่าไรฝุ่นได้หรือไม่

โอโซนสามารถช่วยลดไรฝุ่นได้ด้วยการทำลายโปรตีนที่อยู่ในตัวไร แต่ควรใช้ในพื้นที่ปิดที่ไม่มีคนหรือสัตว์เลี้ยงในระหว่างใช้งาน




Click เพิ่มเพื่อน
ติดต่อ ซื้อเครื่องโอโซน และ เครื่องวัดและควบคุมระดับโอโซน
TEL: 02-1081625   LINE : SCMLTD
HOTLINE: 089-8684874
สินค้าจาก Strat Up ลูกหลานวิศวกรและโปรแกรมเมอร์คนไทยเข้าใจผู้บริโภค